สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ในบทความนี้เราจะพาเพื่อน ๆ มารู้จักกับธัญพืชเม็ดเล็ก ๆ แต่อุดมไปด้วยประโยชน์อย่างถั่วเหลืองกันค่ะ ตาม yakfidmado ไปดูกันเลยดีกว่าว่า ถั่วเหลือง มีประโยชน์อะไรกับร่างกายเราบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
ทำความรู้จักกับ ถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง มีชื่อสามัญว่า Soybean หรือSoya bean มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Glycine max (L.) Merrill อยู่ในวงศ์ (Family) Legumeminosae และถั่วเหลืองได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งถั่ว”
ถั่วเหลือง จะมีลำต้นตั้งตรง ลักษณะเป็นพุ่ม แตกแขนงค่อนข้างมาก มีความสูงประมาณ 30-150 เซนติเมตร ซึ่งความสูงจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของดิน ความชื้น และฤดูที่เพาะปลูก รากของถั่วเหลืองเป็นรากแก้ว ใบของต้นอ่อนถั่วเหลืองจะมีใบเลี้ยง ใบจริงคู่แรกเป็นใบเดี่ยว โดยใบจริงที่เกิดขึ้นต่อมาจะเป็นใบประกอบแบบ 3 ใบย่อย คือ มีใบย่อยด้านปลาย 1 ใบและมีใบย่อยด้านข้างอีก 2 ใบ ลักษณะของใบมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่จนถึงเรียวยาว ส่วนที่โคนของก้านใบประกอบจะมีหูใบอยู่ 2 อัน และส่วนที่โคนของก้านใบย่อยมีหูใบย่อยอยู่ 1 อัน ที่ใบมีขนสีน้ำตาลหรือเทาปกคลุมอยู่ทั่วไป ดอกของถั่วเหลืองจะออกดอกเป็นช่อ มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง ฝักของถั่วเหลืองจะออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-10 ฝัก ขนสีเทาหรือน้ำตาลปกคลุมทั่วฝัก ฝักอ่อนจะมีสีเขียว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล พอแตกออกเมล็ดก็จะร่วงออก และเมล็ดถั่วเหลืองมีสีเหลือง เขียว น้ำตาล ดำก็ได้ ขนาดและรูปร่างต่างกัน กลมรีถึงยาว

คุณค่าทางโภชนาการของ ถั่วเหลือง
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง ต่อ 100 กรัม ดังนี้
- พลังงาน 446 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม
- น้ำ 8.54 กรัมถั่วงอกหัวโต
- น้ำตาล 7.33 กรัม
- เส้นใย 9.3 กรัม
- ไขมัน 19.94 กรัม
- ไขมันอิ่มตัว 2.884 กรัม
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 4.404 กรัม
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 11.255 กรัม
- โปรตีน 36.49 กรัม
- ทริปโตเฟน 0.591 กรัม
- ทรีโอนีน 1.766 กรัม
- ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม
- ลิวซีน 3.309 กรัม
- ไลซีน 2.706 กรัม
- เมทไธโอนีน 0.547 กรัม
- ซิสทีน 0.655 กรัม
- ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม
- ไทโรซีน 1.539 กรัม
- วาลีน 2.029 กรัม
- อาร์จินีน 3.153 กรัม
- ฮิสตามีน 1.097 กรัม
- อะลานีน 1.915 กรัม
- กรดแอสพาร์ติก 5.112 กรัม
- กลูตามิก 7.874 กรัม
- ไกลซีน 1.880 กรัม
- โพรลีน 2.379 กรัม
- ซีรีน 2.357 กรัม
- วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม
- วิตามินบี 1 0.874 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.87 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 1.623 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 5 0.793 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 6 0.377 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 9 375 ไมโครกรัม
- โคลีน 115.9 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม
- วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม
- วิตามินเค 47 ไมโครกรัม
- ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม
- ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม
- ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม
- ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม
- ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม
- ธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม

ประโยชน์และสรรพคุณของถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองมีสรรพคุณและประโยชน์ ดังนี้
- ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต
- ช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้
- ช่วยป้องกันการขาดแคลเซียม ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก ช่วยลดความรุนแรงของโรคกระดูกผุ ช่วยลดการสลายของกระดูก และป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ช่วยบำบัดและรักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต
- ช่วยขับร้อน สลายน้ำ ถอนพิษ
- ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
- ช่วยบำรุงปอดให้แข็งแรงขึ้น และช่วยลดโอกาสของการเป็นโรคถุงลมโป่งพอง
- ช่วยแก้ตานขโมย
- ช่วยบำบัดอาการลำไส้ทำงานไม่ปกติ
- ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยในการเผาผลาญอาหารในกระเพาะอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยแก้โรคบิด อาการแน่นท้อง
- ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูก และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
- ช่วยหล่อลื่นลำไส้
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยปรับสภาพของฮอร์โมนในสตรีให้สมดุล ช่วยลดความรู้สึกไม่สบายตัว อาการร้อนวูบวาบในระยะหมดประจำเดือนของสตรี
- ช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคนิ่วในไตได้
- ช่วยรักษาบาดแผลภายนอกที่มีเลือดออก
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน
- ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยเพิ่มความจำ
- ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ผิวหนัง
- ช่วยทำให้ระบบเลือดดีขึ้น ช่วยทำให้สิวลดน้อยลง
- ช่วยปรับการขับของเหลวภายในร่างกาย ชะลอความแก่
- ช่วยเสริมสร้างเส้นผมใหม่ได้
- ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น
- นำไปประกอบอาหารและขนม
- นำไปเป็นส่วนประกอบในการทำเครื่องปรุงรส

ข้อควรระวัง
- บางรายอาจมีอาการแพ้ถั่วเหลืองได้ โดยจะเกิดผื่นคันหลังจากการรับประทาน
- เด็กทารกที่ดื่มน้ำนมถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียวจะมีโอกาสที่ต่อมไทรอยด์จะทำงานต่ำกว่าปกติได้
- เด็กผู้ชาย การบริโภคถั่วเหลืองในปริมาณสูงและเป็นประจำ อาจทำให้มีเต้านมที่โตผิดปกติ จากสารไฟโตเอสโตรเจน และอาจส่งผลต่อปริมาณของอสุจิในเพศชายได้
- อาจทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชายได้
- การรับประทานถั่วเหลืองในปริมาณสูงเป็นประจำ อาจเกิดปัจจัยเสี่ยงทำให้สมองฝ่อได้
- ไม่ควรบริโภคถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ควรระมัดระวังในการบริโภคด้วย เพราะโรคมะเร็งดังกล่าวมีปัจจัยเสี่ยงมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจน
และนี่ก็คือประโยชน์ของถั่วเหลืองที่เรานำมาฝากเพื่อน ๆ ค่ะ ซึ่งเราสามารถนำถั่วเหลืองมาบริโภคได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการดื่มนมถั่วเหลือง การใช้ถั่วเหลืองมาทำเป็นเนื้อเทียมหรือโปรตีนเกษตร การใช้น้ำนมถั่วเหลืองมาใช้การทำเค้ก การใช้แป้งถั่วเหลืองแทนแป้งสาลี การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองต่าง ๆ หรือการใช้ถั่วเหลืองมาเป็นส่วนประกอบในอาหารก็จะทำให้เราสามารถบริโภคถั่วเหลืองได้เช่นกันค่ะ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับประโยชน์จากถั่วเหลืองมากที่สุด เราควรทำถั่วเหลืองให้สุกก่อนบริโภคนะคะ
นอกจากประโยชน์ของถั่วเหลืองแล้ว วิตามินก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายนะคะ อย่าง วิตามินซี ก็เป็นวิตามินที่มีความสำคัญกับร่างกายเป็นอย่างมากในกระบวนการทำงานต่าง ๆของร่างกาย ในบทความ แหล่งวิตามินซีจากธรรมชาติ จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวิตามินซีให้เพิ่มมากขึ้นค่ะ